เอกสารวิชาการ วิจัย บทเรียน เพื่อการเผยแพร่

โรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย.


นายศราวุฒิ จันทร์หัวนา

ผู้เผยแพร่ผลงาน

เรื่อง : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ว23102 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

เริ่มเผยแพร่ : 12/12/2566

สถิติผู้เยี่ยมชม 77 คน

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ว23102 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es Instructional Model) เน้นเทคนิคการ จัดการเรียนรู้แบบ Active Leaning ผู้ศึกษาค้นคว้า นายศราวุฒิ จันทร์หัวนา ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้รูปแบบ One Group Pre test – Post test Design เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 ให้สูงขึ้น และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 โรงเรียนเทิงวิทยาคม อำเภอเทิง  จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2566  จำนวน 37 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ  1)แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ จำนวน 4 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง 2) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศ จำนวน 1 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1)ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.66 / 81.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 โรงเรียนเทิงวิทยาคม จำนวน 37 คน มีคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้ก่อนเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es Instructional Model) เน้นเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Leaning 15.24 คิดเป็นร้อยละ 51.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.05 และคะแนนเฉลี่ย หลังเรียน เท่ากับ 24.34 คิดเป็นร้อยละ 81.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.26 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ 8.83 คิดเป็นร้อยละ 29.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.00 และ หลังจากเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es Instructional Model) เน้นเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Leaning ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น


Download File