เอกสารวิชาการ วิจัย บทเรียน เพื่อการเผยแพร่

โรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย.


นายกบินทร์ เตชวงศ์

ผู้เผยแพร่ผลงาน

เรื่อง : การสร้างสรรค์แมลงในจิตนาการ ด้วยเศษวัสดุธรรมชาติภายในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทิงวิทยาคม”โดยใช้วิธีการสอนแบบ“SILPA model”

เริ่มเผยแพร่ : 4/08/2567

สถิติผู้เยี่ยมชม 77 คน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์งานประติมากรรมและสื่อผสม เรื่อง การสร้างสรรค์แมลงในจิตนาการ ด้วยเศษวัสดุธรรมชาติภายในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทิงวิทยาคม” และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบนวัตกรรมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์แมลงในจิตนาการ ด้วยเศษวัสดุธรรมชาติภายในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทิงวิทยาคม” เพื่อหาประสิทธิภาพของงานประติมากรรมและสื่อผสม และเพื่อศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่องานประติมากรรมและสื่อผสม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 50 คน แบ่งเป็นห้องเรียนธรรมดาจำนวน 25 คน และห้องเรียนพิเศษ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอนโดยใช้การบูรณาการวิชาศิลปะกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และวิชาชีววิทยาเป็นฐาน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ คู่มือการใช้รูปแบบการสอนศิลปะกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และวิชาชีววิทยา แผนจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ แบบประเมินผลงาน หรือชิ้นงาน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนโดยใช้การสอนศิลปะกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และวิชาชีววิทยา ตามแนวคิด“SILPA model” ของ อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ (2559) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ (Stimulate Creative Thinking: S) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นนำเข้าสู่แนวคิดการสร้างสรรค์งาน (Introducing Creative Work Concept: I) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Learning by Doing: L) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นนำเสนองานสร้างสรรค์ (Presenting Creative Work: P) ขั้นตอนที่ 5 ขั้นประเมินและสะท้อนผล (Assessing and Reflecting: A) การหาคุณภาพของรูปแบบ ฯ มีเกณฑ์คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 2. หลังเรียนตามรูปแบบฯ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะ ในด้านงานประติมากรรมและสื่อผสมสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบฯมีพัฒนาการในงานสร้างสรรค์สูงขึ้นและมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบฯอยู่ในระดับมาก 3.นักเรียนมีการสร้างสรรค์ผลงาน ชิ้นงานในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบฯอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก


Download File