เอกสารวิชาการ วิจัย บทเรียน เพื่อการเผยแพร่

โรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย.


นางพนิดา แก้วมาลา

ผู้เผยแพร่ผลงาน

เรื่อง : การพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยจัดการเรียนรู้แบบ Flipped classroom (การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทิงวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

เริ่มเผยแพร่ : 1/08/2567

สถิติผู้เยี่ยมชม 79 คน

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยจัดการเรียนรู้แบบ Flipped classroom (การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทิงวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ผู้วิจัย : นางพนิดา แก้วมาลา ปีที่ทำการวิจัย : 2565 บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ราชวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ของกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/11 โรงเรียนเทิงวิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เชียงราย ที่เรียนวิชาชีววิทยา 6 รหัสวิชา ว33242 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทคสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทคสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศและประชากร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนราชวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจักการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน การจักการเรียนรู้แบบปกติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาชีววิทยา นักเรียน


Download File