เอกสารวิชาการ วิจัย บทเรียน เพื่อการเผยแพร่

โรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย.


นางศิรินทิพย์ ทันใจ

ผู้เผยแพร่ผลงาน

เรื่อง : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ทวีปเอเชีย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การพัฒนาการสอนแบบใช้ เกมเป็นฐาน

เริ่มเผยแพร่ : 25/10/2566

สถิติผู้เยี่ยมชม 475 คน

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2542 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2545 เป็นต้นมา มีผลให้เกิดการปฏิรูป การศึกษา โดยเฉพาะหมวด 4 แนวการจัดการศึกษาเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด แนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กล่าวถึงลักษณะกระบวนการเรียนรู้ ที่พึงประสงค์ไว้ดังนี้ 1. การเรียนรู้แบบองค์รวมโดยบูรณาการความสามารถและเนื้อหาสาระของภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากล ให้มีความสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกันและมีความสมดุล 2. การเรียนรู้อย่างมีความสุขโดยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ตามความถนัดในบรรยากาศที่เข้าใจและมีการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเป็นอิสระ ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และความสำเร็จ ความสุขที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้เรียน 3. การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ช่วยเหลือ ยอมรับซึ่งกันและกันได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังคุณธรรมที่ดีงาม สำหรับการทำงานร่วมกันจะทำให้เกิดการ พัฒนาทักษะทางสังคม และทักษะการทำงานที่ดีตามไปด้วย 4. การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการใช้สมองและสองมือ ส่วนการ คิดเป็นความสามารถของสมองในการประมวลข้อมูลความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้เป็นความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกัน เมื่อผู้เรียนได้คิดแล้วจะต้อง นำไปปฏิบัติจริง จึงจะเป็นการเรียนรู้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 5. การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างใคร่ครวญและทบทวนตนเอง อย่างรอบด้าน มีการรับรู้ลีลาการเรียนรู้ และความถนัดของตนเอง เน้นการเรียนรู้กระบวนการ ว่าการเรียนรู้ แต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างไร เรียนด้วยวิธีการอะไร มีขั้นตอนตั้งแต่เริ่มจนจบอย่างไร ประเมินจุดดี จุดด้อย และ ปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสม พร้อมที่จะนำไปใช้ในการเรียนรู้ครั้งต่อไป ทั้งนี้การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวให้เกิดกับผู้เรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ลักษณะผู้เรียนที่ พึงประสงค์ คือ ผู้เรียนที่เป็นคนดี คนเก่ง และคนมีความสุข ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไป ตามกระบวนการเรียนรู้และคุณลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการเรียนรู้ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การจัดการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง จากที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เป็นเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ การสาธิต การทดลอง การนิรนัย การอุปนัย ทัศนศึกษา อภิปรายกลุ่มย่อย การแสดงละคร บทบาทสมมุติ การใช้กรณีตัวอย่าง การใช้เกม สถานการณ์จำลอง ศูนย์การเรียน บทเรียนแบบโปรแกรมฯ ซึ่งโดยปกติการสอนโดยทั่วไป มักใช้วิธีสอนหลาย วิธีร่วมกัน เนื่องจาก วิธีการใด วิธีการหนึ่ง มีคุณสมบัติเฉพาะอย่างไม่สามารถสนองวัตถุประสงค์ได้ครอบคลุม การที่ผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีสอนที่หลากหลาย นอกจากจะช่วยให้การสอนบรรลุผลได้มากขึ้น แล้ว ยังช่วยให้ผู้เรียน ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้ที่ต้องจำเจด้วยวิธีการที่จำกัด การใช้วิธีสอนที่หลากหลาย จะช่วยให้ผู้เรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อยู่เสมอ จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นด้านผู้สอนพบว่ารูปแบบหรือวิธีสอนของคณาจารย์ส่วนใหญ่ยังไม่หลากหลาย เน้นรูปแบบการบรรยายเป็นหลักถ้าจะเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนก็มักเป็นรูปแบบการให้ทดลองการให้ฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตนเอง และรูปแบบการสอนโดยวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนให้ ทำแบบฝึกหัดหรือกรณีศึกษา ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่ความพยายามในการศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนการสอนแบบเกม เพื่อสร้างทางเลือกที่หลากหลาย อันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการเรียนการสอนที่ เพิ่มขึ้น จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การพัฒนาการสอนแบบใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning) ชื่อเกม “บันไดงู” เนื่องจากผู้วิจัยเห็นว่า วิธีการสอนแบบเกม (Game Best Learning) ชื่อเกม “บันไดงู” จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้ลงมือทำ ทำให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัว มีความตั้งใจ เกิดความสนุกสนาน และความรับผิดชอบในการเรียนมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่ง ผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและเป็นการปรับพฤติกรรมการเรียนที่เหมาะสมของผู้เรียนต่อไป


Download File