เรื่อง : การพัฒนากระบวนการจัดประเภทวงดนตรีไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รวมวงดนตรีไทยและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย
เริ่มเผยแพร่ : 25/09/2566
สถิติผู้เยี่ยมชม 503 คน
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง : การพัฒนากระบวนการจัดประเภทวงดนตรีไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
รวมวงดนตรีไทยและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย
ปีการศึกษา : 2566
รายวิชา : ศิลปะพื้นฐาน (ศ 21101)
ผู้วิจัย : นางเกษฎา ปัญญา
จากการจัดการเรียนการรู้ในวิชาศิลปะ-สาระดนตรีได้วิเคราะห์สภาพปัญหาซึ่งเกิดมาจาก 3 ประเด็นดังนี้ 1.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน เป็นการสอนในรูปแบบของการบรรยาย วิธีและรูปแบบการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ไม่ค่อยหลากหลาย 2.การเรียนรู้ของผู้เรียน การจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนในข้างต้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียน ผู้เรียนขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ผู้เรียนเป็นผู้รับข้อมูลเพียงอย่างเดียว เน้นเนื้อหามากกว่าการปฏิบัติ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ที่ไม่ยั่งยืน ผู้เรียนไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในห้องและครู ผู้เรียนขาดทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูล การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ในการต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่ 3.ธรรมชาติของเนื้อหาที่สอน เนื้อหาวงดนตรีไทยคือการนำเครื่องดนตรีไทยหลายๆเครื่อง หลายๆประเภท มาบรรเลงผสมร่วมกันจนเกิดเป็นวงดนตรีไทยประเภทต่างๆ ธรรมชาติเนื้อหาเรื่องวงดนตรีไทยจึงมีเนื้อหาค่อนข้างเยอะและมีความซับซ้อนทำให้นักเรียนเกิดความสับสนในการจัดประเภทวงดนตรีไทย จากปัญหาดังกล่าวได้ร่วมปรึกษากับคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้กระบวนการกลุ่ม PLC ทำให้ได้รู้วิธีการ เทคนิค การจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนการสอนต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดความเหมาะสมกับผู้เรียนและเนื้อหาที่สอน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.นักเรียนสามารถจัดจำแนกประเภทวงดนตรีไทยได้ถูกต้อง 2.นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและนำเสนอเรื่องประเภทวงดนตรีไทย และ3.นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของวงดนตรีไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 421 คน โรงเรียนเทิงวิทยาคม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รวมวงดนตรีไทยและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนสามารถจัดจำแนกประเภทวงดนตรีไทยได้ถูกต้อง อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 84.15
2. นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและนำเสนอเรื่องประเภทวงดนตรีไทย อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็น
ร้อยละ 91
3. นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของวงดนตรีไทย อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 91
Download File