เรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
เริ่มเผยแพร่ : 19/04/2564
สถิติผู้เยี่ยมชม 552 คน
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มีวัตถุประสงค์เพื่อโครงการพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นการวิจัยเชิงการประเมิน (Evaluation Research) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP model) ซึ่งเป็นการประเมินใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) โดยใช้แบบประเมินโครงการเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการประมวลผล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ( Statistical Package For the Social Scienes) ประชากรของการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หัวหน้ากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผู้ปกครอง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวจำนวน 907 คน
ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผลการโครงการพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบริบท (Context) ของโครงการ ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) ของโครงการ ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการ และด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ค่าเฉลี่ยของแต่ละด้าน ด้านบริบท (Context) หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มีความสอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์และเป้าหมายของโรงเรียนเทิงวิทยาคม ในระดับมาก ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) พบว่า มีความเหมาะสมและความเพียงพอ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า มีการปฏิบัติและเป็นจริง อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการวางแผนอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านผลผลิต (Product) ของโครงการมีความสำเร็จและผลการดำเนินการด้านผลลัพธ์อยู่ในระดับมากที่สุด
Download File