เอกสารวิชาการ วิจัย บทเรียน เพื่อการเผยแพร่

โรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย.


นางพนิดา แก้วมาลา

ผู้เผยแพร่ผลงาน

เรื่อง : รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Cycles : 5Es) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

เริ่มเผยแพร่ : 06-01-2012

สถิติผู้เยี่ยมชม 506 คน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.)เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle : 5Es) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทิงวิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 2.)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle : 5Es) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทิงวิทยาคม 3.)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทิงวิทยาคม ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Cycle : 5Es) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 6/8 โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ที่เรียนในรายวิชาชีววิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Cycles : 5Es) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการการเรียน วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Cycles : 5Es) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผลการศึกษาพบว่า การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Cycles : 5Es) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่จัดทำขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 87.33/81.10 การทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนกับหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่า (t-test) ผลปรากฏว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 สรุปได้ว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และเมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Cycles : 5Es) วิชาชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้คุณภาพจากค่าระดับความพึงพอใจของนักเรียนโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด สรุปว่านักเรียนมีความพึงพอใจที่ดีต่อกิจกรรมการเรียนรู้


Download File